Change Language:  ภาษาไทย

ปริญญาตรี

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งทอ

ภาษาไทย ภาคปกติ
ระยะเวลา: 4 ปี
จำนวนรับเข้า: 45 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

  • ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต

จำนวนหน่วยกิต:

  • จำนวนหน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า    138 หน่วยกิต
    • วิชาศึกษาทั่วไป                   30 หน่วยกิต 
    • วิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า            102 หน่วยกิต
    • วิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า          6 หน่วยกิต

ค่าเล่าเรียน:

  • ภาคการศึกษาละ 17,300 บาท (เหมาจ่าย)

สถานที่ศึกษา:

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ติดต่อหลักสูตร:

  02-564-4440 ต่อ 79

  textiletu@gmail.com

  https://mattex.sci.tu.ac.th/

  TextileSciTutu

หลักสูตรมีความทันสมัยด้วยแนวคิด SCI+BUSINESS เรียนสาขานี้รับรองว่ามีงานรองรับแน่นอนและสามารถเป็นผู้ประกอบหรือเจ้าของธุรกิจได้ โดยเฉพาะประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมสิ่งทอของอาเซียน มีความสําคัญต่อเศรษฐกิจของชาติ สร้างรายได้ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) จำนวนมหาศาล

คำอธิบายหลักสูตร

สาขานี้เรียนเกี่ยวกับเทคโนโลยีและการพัฒนากระบวนการผลิตทางเคมีสิ่งทอ การตกแต่งสำเร็จและการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สิ่งทอ การประเมินสมบัติทางเคมีและกายภาพ เรียนด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยในกระบวนการผลิตและการทดสอบในอุตสาหกรรมสิ่งทอ รวมทั้งแนวคิดการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม เทคนิคการพัฒนาแบบและหลักการบริหารในธุรกิจสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

นักศึกษาที่เข้ามาเรียนสาขานี้ จะได้ศึกษานวัตกรรม เทคโนโลยีและการบริหารสิ่งทอทั้งระบบเพื่อนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริงทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจ เมื่อเรียนจบสามารถประกอบอาชีพ ทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ผู้ประกอบการและเจ้าของธุรกิจ

การเรียนการสอนในสาขานี้เน้นให้นักศึกษาพัฒนาสิ่งประดิษฐ์สร้างสรรค์ทางวัสดุสิ่งทอและสามารถนำไปสร้างมูลค่าในภาคอุตสาหกรรมและต่อยอดเป็นผู้ประกอบการได้

การฝึกงานหรือสหกิจ

นักศึกษาสามารถฝึกงานและทำสหกิจในองค์กรชั้นนำต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ (ฝึกงานเริ่มต้นในภาคฤดูร้อนของชั้นปีที่ 3 และสิ้นสุดในภาคเรียนแรกของชั้นปีที่ 4)

การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

สามารถศึกษาต่อในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขานวัตกรรมวัสดุ ที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธ. หรือสถาบันการศึกษาชั้นนำอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

  • นักวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาวัสดุ